วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน 100 คะแนน

ขอให้เพิ่อนๆ ครู ร่วมประเมินผลงาน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน


- เพื่อนประเมินเพื่อน จำนวน 5 คน

ขอขอบคุณทุกท่าน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

Website เรื่องคลื่น

1. http://www.brr.ac.th/~brrweb/knowledge/physic-cyber/lessonplan/manual01.pdf

2. http://www.nb2.go.th/~suwanpit/sc/e-leaning/wave/

3. http://khankhammuen.wordpress.com/2010/03/30/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2/

4. http://blake.prohosting.com/pstutor/physics/wave/wave_concept.html

5. http://learners.in.th/blog/kik46312526-2

กิจกรรม 12-16 ก.ค. สืบค้นข้อมูล (ไม่ต่ำกว่า 10 เว๊บ )

คลื่นกล (mechanical wave)
คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก ฯลฯ คลื่นพวกนี้สามารถถ่ายทอดพลังงานและโมเมนตัม โดยอาศัยความยืดหยุ่นของตัวกลางถ้าอุณหภูมิคงตัว อัตราเร็วของคลื่นกลจะมีค่าเท่ากันในตัวกลางชนิดเดียวกัน
คลื่นดิน ground wave
เป็นคลื่นวิทยุที่ส่งจากสถานีส่งกระจายเสียงไปถึงเครื่องรับวิทยุโดยตรงในแนวระดับสายตา
ที่มา
- www.sa.ac.th/winyoo/mechanicswave/Index.htm



คลื่นดิน (ground wave)
เป็นคลื่นวิทยุที่ส่งจากสถานีส่งกระจายเสียงไปถึงเครื่องรับวิทยุโดยตรงในแนวระดับสายตา
ที่มา
- www.neutron.rmutphysics.com/physics.../index.php?option...



ธรรมชาติของคลื่น (The nature of a wave)
คลื่นและการเคลื่อนที่คล้ายคลื่น (Waves and wave-like motion)
คลื่นมีอยู่ทุก ๆ ที่ ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ในชีวิตประจำวันเราได้พบเจอคลื่นต่าง ๆ มากมาย เช่น คลื่นเสียง, คลื่นแสง, คลื่นวิทยุ, คลื่นไมโครเวฟ, คลื่นน้ำ เป็นต้น การศึกษาเรื่องคลื่นทำให้เราสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุบางประเภทที่มีลักษณะคล้ายกับคลื่น เช่น การเคลื่อนที่ของลูกตุ้มนาฬิกา การเคลื่อนที่ของมวลที่แขวนไว้กับสปริง เป็นต้น
ที่มา
- www.kpsw.ac.th/teacher/piyaporn/page1.htm



คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ
คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคือเป็นคลื่นที่เกิดจากคลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กตั้งฉากกันและเคลื่อนที่ไปยังทิศทางเดียวกัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็ว 299,792,458 m/s หรือเทียบเท่ากับความเร็วแสง
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้
ที่มา
- www.gisthai.org/about-gis/electromagnetic.html



สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความถี่ต่อเนื่องกันเป็นช่วงกว้างเราเรียกช่วงความถี่เหล่านี้ว่า "สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า" และมีชื่อเรียกช่วงต่าง ๆ ของความถี่ต่างกันตามแหล่งกำเนิดและวิธีการตรวจวัดคลื่น
ที่มา
- https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=76376



รังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีอินฟราเรด
รังสีอินฟาเรด (infrared rays) รังสีอินฟาเรด มีช่วงความถี่ 10ยกกำลัง11 - 10ยกกำลัง14 Hz หรือ ความยาวคลื่น ตั้งแต่ 10ยกกำลัง-3 - 10ยกกำลัง-6 เมตร ซึ่ง มี ช่วงความถี่ คาบเกี่ยว กับ ไมโครเวฟ รังสีอินฟาเรด สามารถ ใช้กับฟิล์มถ่ายรูป บางชนิด ได้ และ ใช้ เป็น การควบคุม ระยะไกล หรือ รีโมทคอนโทรล กับ เครื่องรับโทรทัศน์ ได้ รังสีอินฟราเรดบางคนเรียกว่ารังสีความร้อน เพราะสสารที่มีความร้อนจะต้องมีรังสันี้ออกมา ทำให้สามารถสร่างกล้องอินฟราเรดที่สามารถมองเห็นวัตถุในความมืดได้ เช่น อเมริกาสามารถใช้กล้องอินฟราเรดมองเห็นเวียตกงได้ตั้งแต่สมัยสงครามเวียตนาม
รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet rays)รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสีเหนือม่วง มี ความถี่ช่วง 10ยกกำลัง15 - 10ยกกำลัง18 Hz เป็น รังสี ตาม ธรรมชาติ ส่วนใหญ่ มา จาก การแผ่รังสี ของ ดวงอาทิตย์ ซึ่ง ทำ ให้ เกิด ประจุ อิสระ และไอออน ใน บรรยากาศ ชั้น ไอโอโนสเฟียร์ รังสีอัลตราไวโอเลต สามารถ ทำ ให้ เชื้อโรค บาง ชนิด ตาย ได้ แต่ มี อันตราย ต่อ ผิวหนัง และ ตา คน
ที่มา
- http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anak-nnn&month=03-2007&date=13&group=3&gblog=1



การเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เมื่อประจุไฟฟ้า บวกและลบเกิดการสั่นแบบซิมเปิลฮาร์มอนิก จะทำให้เกิดเส้นแรงไฟฟ้าขึ้นระหว่างประจุทั้งสอง
ที่มา
- www.pt.ac.th/ptweb/prajead/electric/EM_wave/.../emf.htm



คุณสมบัติของเสียง
1. คุณสมบัติของเสียงขับร้องของมนุษย์
ในธรรมชาติเสียงของมนุษย์สามารถปรับระดับเสียงสูง-ต่ำได้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเสียงดนตรี จึงถือว่าเสียงมนุษย์เป็นเสียงดนตรีชนิดหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ได้พัฒนาการปรับเสียงสูง-ต่ำ จนกลายเป็นเสียงขับร้องที่ไพเราะได้ โดยเริ่มจากการสวดมนต์ การขอพรจากเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การขับลำนำ การอ่านคำประพันธ์ การขับเสภา ตามลำดับจนเป็นการขับร้องประเภทต่าง ๆ ในที่สุด นอกจากนี้ เสียงของมนุษย์ยังมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งแตกต่างกันไปตามเพศและวัยอีกด้วย เช่น เสียงเด็กและผู้หญิงมักจะเสียงเล็กแหลม เสียงผู้ชายจะมีเสียงทุ้มใหญ่ เป็นต้น
2. คุณสมบัติของเสียงดนตรี
เสียงดนตรีเป็นเสียงที่มีระดับเสียงสูง-ต่ำ เหมือนกับเสียงของมนุษย์ แต่จะเป็นระบบมากกว่า ซึ่งมีพัฒนาการมาจากการขับลำนำ และการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และความเชื่อต่อมามีการพัฒนาเครื่องดนตรีและวิธีการบรรเลงดนตรีได้หลากหลายวิธี ทำให้เสียงดนตรีมีระดับสูง-ต่ำมากขึ้นและมีลักษณะของเสียงเพิ่มขึ้นหลายเสียง
ที่มา
- www.thaigoodview.com/node/18316



การเกิดเสียง
เสียง เริ่มเกิดขึ้นเมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียงมีการสั่นสะเทือนส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบ
ที่มา
- www.thainame.net/project/sound507/Untitled-3.html



เสียงทุ้ม-เสียงแหลม
หูของมนุษย์เรา (รวมถึงสัตว์อื่นๆ) เป็นอวัยวะที่มีความสามารถในตรวจจับคลื่นเสียง โดยส่วนของแก้วหู (Ear Drum) ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อเยื่อที่เบาและอ่อนบางมากๆ จะสั่นไหวมาก-น้อยและเร็ว-ช้าตามความผันแปรของความดันอากาศที่เดินทางเข้ามาในช่องหู (Ear Canal)ในกรณีของมนุษย์นั้น หูและระบบประสาทการฟังที่มีสุขภาพและสภาพที่สมบูรณ์จะสามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่จากต่ำสุดที่ 20Hz ขึ้นไปถึงสูงสุดที่ 20,000Hz แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าความไวในการได้ยินเสียงหรือความรู้สึกได้ในการฟังจะเท่ากันหมดในทุกๆ ย่านความถี่
คำว่าความถี่ (Frequency) นั้นเป็นคุณสมบัติหนึ่งของคลื่น โดยจะหมายถึงจำนวนครั้งของรอบการสั่น (Vibration) ของอนุภาคในตัวกลาง (Medium) ซึ่งก็คือจำนวนครั้งของช่วงคลื่น (ช่วงหนึ่งความยาวคลื่น-Wave Length) ที่เคลื่อนผ่านจุดหนึ่งจุดใดไปในช่วงเวลาหนึ่ง โดยหากวัดจำนวนช่วงคลื่นที่เคลื่อนตัวผ่านไปใน 1 วินาที ก็จะเท่ากับความถี่ของคลื่นในหน่วย Hertz (Hz – เฮิร์ซ) นั่นเอง
ที่มา
- www.kce101.com/forums/index.php?topic=98.0



สรุปสูตรจากสมบัติโดยทั่วไปของเสียงและคลื่นทั่วไป
สิ่งที่ต้องการหา สูตร
ความเร็วเสียงในอุณหภูมิต่าง ๆ Vt= 331+0.6t
ความเร็วเสียง V = fl
ความเร็วเสียง V = s/t
สูตรที่ใช้ในการแทรกสอดของเสียงดัง S1P- S2P = nl
สูตรที่ใช้ในการแทรกสอดของเสียงดัง dsinq = nl
สูตรที่ใช้ในการแทรกสอดของเสียงค่อย S1P- S2P = (n-1/2)l
สูตรที่ใช้ในการแทรกสอดของเสียงค่อย dsinq = (n-1/2)l
สูตรที่ใช้ในการแทรกสอดของเสียงค่อย = (n-1/2)l
ความถี่บีตส์ fB= f1-f2
ความเข้มเสียง(I) I=W/At = P/A = P/4pR2
ที่มา
- www.yimwhan.com/board/show.php?user...topic=10...

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบปี 52




อธิบาย การสะท้อนของคลื่น Reflectionเมื่อคลื่นเคลี่ยนที่ไปชนกับสิ่งกีดขวาง หรือเคลื่อนที่ไปยังปลายสุดของตัวกลาง หรือระหว่างรอยต่อของตัวกลาง คลื่นส่วนหนึ่งจะเคลื่อนที่กลับมาในตัวกลางเดิม เรียกว่า การสะท้อนของคลื่น และคลื่นที่สะท้อนกลับมา เรียกว่า คลื่นสะท้อน ส่วนคลื่นที่ไปกระทบปลายสุดของตัวกลางก่อนเกิดการสะท้อนเรียกว่า คลื่นตกกระทบ
การหักเหของคลื่น(Refraction)เมื่อให้คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลาหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง เช่น คลื่นน้ำลึกเคลื่อนที่จากน้ำลึกเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น จะทำให้ความยาวคลื่นของคลื่นน้ำจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย การที่คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่งแล้วทำให้อัตรา เร็วและความยาวคลื่นเปลี่ยนไปแต่ความถี่คงที่ เรียกว่า "การหักเหของคลื่น" และคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านรอยต่อ ระหว่างตัวกลางไปเรียกว่า "คลื่นหักเห"
ในการหักเหของคลื่นจากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง จะทำให้ความเร็ว และความยาวคลื่นเปลี่ยนไป แต่ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจจะไม่เปลี่ยน หรือเปลี่ยนไปจากแนวเดิมก็ได้
การแทรกสอดของคลื่น(Interference)เมื่อมีคลื่นต่อเนื่องจากแหล่งกำเนิดคลื่นสองแหล่งที่มีความถี่เท่ากันและเฟสตรงกันเคลื่อนที่มาพบกัน จะเกิดการซ้อนทับระหว่างคลื่นต่อเนื่องสองขบวนนั้น ปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า การแทรกสอดของคลื่น (Interference)

1.การแทรกสอดแบบเสริมกัน เกิดจากสันคลื่นของคลื่นทั้งสองมารวมกัน คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะมีวันคลื่นสูงกว่าเดิม และมีท้องคลื่นลึกกว่าเดิม และจะเรียกตำแหน่งนั้นว่า ปฏิบัพ(Antinode)

2.การแทรกสอดแบบหักล้าง เกิดจากสันคลื่นจากแหล่งกำเนิดหนึ่งมารวมกับท้องคลื่นของ อีกแหล่งกำเนิดหนึ่ง คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมีสันคลื่นต่ำกว่าเดิม และท้องคลื่นตื้นกว่าเดิม และเรียกตำแหน่งนั้นว่า บัพ(Node)
การเลี้ยวเบนของคลื่น เมื่อมีสิ่งกีดขวางมากั้นการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นจะเกิดการสะท้อน แต่ถ้าสิ่งกีดขวางนั้นกั้นการเคลื่อนที่ ของคลื่นเพียงบางส่วน จะพบว่ามีคลื่นส่วนหนึ่งแผ่จากขอบสิ่งกีดขวางไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น การที่มีคลื่นปรากฎอยู่ทางด้านหลังของแผ่นกั้นคลื่นในบริเวณนอกทิศทางเดิมของคลื่นเช่นนี้เรียกว่า การเลี้ยวเบนของคลื่น
ที่มา : http://www.skn.ac.th/skl/skn42/phy67/function.htm









กิจกรรม 5-9 ก. ค. 53 รวม 90 คะแนน

กิจกรรม 5-9 ก.ค. 53 รวม 90 คะแนน
คลื่น

-ชนิดของคลื่น
-ส่วนประกอบของคลื่น
-สมบัติของคลื่น
-ปรากฏการ คลื่น
-การสะท้อน
-การหักเห
-การเลี้ยวเบน
-การแทรกสอด
-คลื่นในเส้นเชือกที่ปลายตรึงไว้

คลื่นเป็นปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่ง คลื่นสามารถจำแนกตามลักษณะต่าง ๆได้ดังนี้
1. จำแนกตามลักษณะการอาศัยตัวกลาง

1.1 คลื่นกล (Mechanical wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลางซึ่งอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ ตัวอย่างของคลื่นกลได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นที่ผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น

1.2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ คลื่นไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น

2. จำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่

2.1 คลื่นตามขวาง (Transverse wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามขวางได้แก่ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

2.2 คลื่นตามยาว (Longitudinal wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น ตัวอย่างของคลื่นตามยาวได้แก่ คลื่นเสียง

3. จำแนกตามลักษณะการเกิดคลื่น

3.1 คลื่นดล (Pulse wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเพียงครั้งเดียว

3.2 คลื่นต่อเนื่อง (Continuous wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวนเป็นจังหวะต่อเนื่อง

ส่วนประกอบของคลื่น

สันคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก

ท้องคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ

แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ

ความยาวคลื่น (wavelength) เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นเมตร (m)

ความถี่ (frequency) หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz)

คาบ (period) หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (s)

อัตราเร็วของคลื่น (wave speed) หาได้จากผลคูณระหว่างความยาวคลื่นและความถี่

สมบัติของคลื่น (wave properties)
คลื่นทุกชนิดแสดงสมบัติ 4 อย่าง คือการสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน

การสะท้อน (reflection) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวาง แล้วเปลี่ยนทิศทางกลับสู่ตัวกลางเดิม

การหักเห (refraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่ต่างกัน แล้วทำให้อัตราเร็วเปลี่ยนไป

การเลี้ยวเบน (diffraction) เกิดจากคลื่นเคลื่อนที่ไปพบสิ่งกีดขวาง ทำให้คลื่นส่วนหนึ่งอ้อมบริเวณของสิ่งกีดขวางแผ่ไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น

การแทรกสอด (interference) เกิดจากคลื่นสองขบวนที่เหมือนกันทุกประการเคลื่อนที่มาพบกัน แล้วเกิดการซ้อนทับกัน ถ้าเป็นคลื่นแสงจะเห็นแถบมืดและแถบสว่างสลับกัน ส่วนคลื่นเสียงจะได้ยินเสียงดังเสียงค่อยสลับกัน

ที่มา http://www.school.net.th/library/snet3/saowalak/wave/wave.htm
เขียนโดย m6debsirinsp ที่ 0:34 0 ความคิดเห็น 1. ธรรมชาติของคลื่น (The nature of a wave)
1.1 คลื่นและการเคลื่อนที่คล้ายคลื่น (Waves and wave-like motion)
คลื่นมีอยู่ทุก ๆ ที่ ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ในชีวิตประจำวันเราได้พบเจอคลื่นต่าง ๆ มากมาย เช่น คลื่นเสียง, คลื่นแสง, คลื่นวิทยุ, คลื่นไมโครเวฟ, คลื่นน้ำ เป็นต้น การศึกษาเรื่องคลื่นทำให้เราสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุบางประเภทที่มีลักษณะคล้ายกับคลื่น เช่น การเคลื่อนที่ของลูกตุ้มนาฬิกา การเคลื่อนที่ของมวลที่แขวนไว้กับสปริง เป็นต้น

คลื่นเกิดจากการรบกวนบางอย่าง เช่น การโยนก้อนหินลงไปในน้ำ หรือ การสั่นสปริง ดังรูป


1.2 คลื่นคืออะไร (What is a wave?)

คลื่น คือ การรบกวนอย่างเป็นจังหวะซึ่งนำพาพลังงานผ่านสสารหรืออวกาศ การส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งนี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีการนำพาสสารไปพร้อมกับพลังงาน

1.3 การแบ่งประเภทของคลื่น

· แบ่งตามความจำเป็นในการใช้ตัวกลาง

o คลื่นกล (Mechanical waves): จำเป็นต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นเสียง, คลื่นในเส้นเชือก, คลื่นน้ำ เป็นต้น

o คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic waves): ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นแสง, คลื่นวิทยุ, คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น

· แบ่งตามลักษณะการสั่นของตัวกลาง

o คลื่นตามขวาง (Transverse waves): อนุภาคของตัวกลางสั่นตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นในเส้นเชือกที่เกิดจากการสะบัดปลายเชือกขึ้นลง เป็นต้น



o คลื่นตามยาว (Longitudinal waves): อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นในสปริงที่เกิดจากการยืดหรืออัดสปริง คลื่นเสียง เป็นต้น



· แบ่งตามลักษณะการเกิด (ความต่อเนื่องของแหล่งกำเนิด)

o คลื่นดล (pulse): คลื่นที่เกิดจากการรบกวนเพียงครั้งเดียว

o คลื่นต่อเนื่อง: คลื่นที่เกิดจากการรบกวนอย่างต่อเนื่องเป็นจังหวะ



2. คุณสมบัติของคลื่น (Properties of a wave)

2.1 กายวิภาคของคลื่น (The Anatomy of a Wave)

ถ้าเรานำเชือกมาขึงให้ตึงแล้วสะบัดปลาย จะทำให้เกิดคลื่นในเส้นเชือก ซึ่งถ้าเราสนใจรูปร่างของเส้นเชือกขณะเวลาใดขณะหนึ่ง (เหมือนถ่ายภาพนิ่ง) เราจะเห็นรูปร่างของเส้นเชือกคล้ายกับรูปข้างล่างนี้ ซึ่งก็คือรูปร่างของคลื่นนั่นเอง



คลื่นตามขวาง



คลื่นตามยาว

จุดที่อยู่สูงสุดเราเรียกว่า สันคลื่น (Crest) , จุดที่อยู่ต่ำสุดเราเรียกว่า ท้องคลื่น (Trough) และระยะจากแนวสมดุล (ตรงกลาง) ถึง ท้องคลื่น หรือ สันคลื่น เราเรียกว่า แอมพลิจูด (Amplitude)

ระยะจากสันคลื่นจุดหนึ่งถึงสันคลื่นอีกจุดหนึ่งที่อยู่ติดกันเราเรียกว่า ความยาวคลื่น (Wavelength)

2.2 ความถี่และคาบของคลื่น (Frequency and period of wave)

ความถี่ ( f ) คือ จำนวนรอบ (ลูกคลื่น) ของคลื่นที่ผ่านจุด ๆ หนึ่งไปในหนึ่งหน่วยเวลา ซึ่งจะมีหน่วยเป็น รอบต่อวินาที หรือ เฮิรตซ์ (Hz) ส่วนคาบ ( T ) คือ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบของคลื่น (1 ลูกคลื่น) ซึ่งจะมีหน่วยเป็น วินาทีต่อรอบ หรือ วินาที (s) คาบและความถี่เป็นส่วนกลับกันดังสมการข้างล่าง

2.3 การถ่ายทอดพลังงานและแอมพลิจูดของคลื่น (Energy Transport and the Amplitude of a Wave)

แอมพลิจูดของคลื่นมีความสัมพันธ์กับพลังงานของคลื่น (พลังงานที่คลื่นถ่ายเท) โดยคลื่นที่มีพลังงานสูง ก็จะมีแอมพลิจูดสูงด้วยเช่นกัน



โดยความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับแอมพลิจูดของคลื่น คือ พลังงานจะแปรผันตรงกับค่ากำลังสองของแอมพลิจูด





2.4 ความเร็วคลื่น (The Speed of a Wave)

ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นสามารถคำนวณหาได้จาก อัตราส่วนระหว่างระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ไปได้ต่อเวลา

v = s/t
ความเร็วของคลื่นขึ้นอยู่กับตัวกลาง หากคลื่นชนิดเดียวกันเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน จะมีความเร็วเท่ากัน เมื่อมีการเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกันก็จะมีความเร็วต่างกัน ตัวอย่างเช่น ความเร็วเสียงในอากาศ กับความเร็วเสียงในน้ำนั้นมีค่าไม่เท่ากัน

2.5 สมการคลื่น (The Wave Equation)

จากหัวข้อที่แล้วเราทราบว่า v = s/t ถ้าหากเราสนใจคลื่นที่เคลื่อนที่ครบ 1 รอบ (1 ลูกคลื่น) พอดี จะได้ว่า s = ความยาวคลื่น ( l ) และ t = คาบ (T)

ดังนั้น v = l / T และ จากความรู้ที่ว่า f = 1/T

ดังนั้น สมการคลื่น คือ v = fl



3. พฤติกรรมของคลื่น (Behavior of waves)

3.1 การสะท้อน (Reflection)

เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปจนสุดตัวกลางและพบกับสิ่งกีดขวางที่ทำให้คลื่นเคลื่อนที่ผ่านไม่ได้ เช่น คลื่นเสียงเดินทางผ่านอากาศไปกระทบกับหน้าผา จะทำให้เกิดการสะท้อนกลับของคลื่นขึ้น โดยลักษณะการสะท้อนของคลื่นจะมีคุณสมบัติดังนี้ คือ 1. มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน และ 2. คุณสมบัติต่าง ๆ ของคลื่นเช่น ความเร็ว ความถี่ และความยาวคลื่นจะมีค่าเท่ากันทั้งก่อนการสะท้อนและหลังการสะท้อน





การสะท้อนของคลื่นในเส้นเชือก

เมื่อปลายเชือกเป็นจุดตรึง



คลื่นสะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไป 180 องศา



เมื่อปลายเชือกเป็นจุดอิสระ



คลื่นสะท้อนจะมีไม่เปลี่ยนเฟส



3.2 การหักเห (Diffraction)

การหักเหจะเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน เช่น คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากน้ำลึกไปน้ำตื้น หรือ แสงเคลื่อนที่จากน้ำไปอากาศ เป็นต้น จะทำให้มีความเร็วคลื่นและความยาวคลื่น รวมถึงทิศทางการเคลื่อนที่เปลี่ยนไป แต่มีความถี่คงที่





การหักเหจะเป็นไปตามสมการของสเนลล์ คือ

sinq1/ sinq2 = v1/v2 = l1/l2

เมื่อ q1 คือ มุมตกกระทบ q2 คือ มุมหักเห







3.3 การเลี้ยวเบน (Diffraction)

การเลี้ยวเบน คือ การที่คลื่นบางส่วนสามารถอ้อมผ่านสิ่งกีดขวางได้ดังรูป โดยการเลี้ยวเบนนี้จะยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อคลื่นมีขนาดความยาวคลื่นมาก ๆ (เทียบกับขนาดของสิ่งกีดขวาง)



ตัวอย่างของปรากฏการณ์การเลี้ยวเบนที่เราได้พบบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันก็คือ การที่เสียงสามารถจะลอดอ้อมมุมตึก หรือ ลอดผ่านช่องแคบ ๆ ได้



3.4 การแทรกสอด (Interference)

เกิดขึ้นเมื่อคลื่นสองขบวนเคลื่อนที่มาพบกัน ทำให้เกิดการแทรกสอด สอบแบบ คือ

· การแทรกสอดแบบเสริมกัน (Constructive interference) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อคลื่นสองขบวนมีการขจัดในทิศเดียวกัน เช่น ท้องคลื่นเจอกับท้องคลื่น หรือ สันคลื่นเจอกับสันคลื่น



· การแทรกสอดแบบหักล้างกัน (Destructive interference) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อคลื่นสองขบวนมีการขจัดในทิศตรงข้ามกัน เช่น ท้องคลื่นเจอกับสันคลื่น



ผลลัพธ์ที่เกิดจากการแทรกสอดจะเป็นไปตามหลักการการทับซ้อน (Principle of superposition) และเมื่อผ่านพ้นกันไปแล้ว แต่ละคลื่นจะยังคงมีรูปร่างเหมือนก่อนรวมกันทุกประการ









การแทรกสอดของคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์สองแหล่ง

เมื่อมีแหล่งกำเนิดคลื่นที่เหมือนกันสองแหล่งใกล้ ๆ กัน กำเนิดคลื่นทำให้เกิดการแทรกสอดกันดังรูป จะเกิดแนวการแทรกสอดแบบเสริมกัน (ปฏิบัติ: Antinode) และ แบบหักล้างกัน (บัพ: node)



โดยมีสมการการคำนวณดังนี้

ปฏิบัพ

S1P – S2P = nl , n = 0, 1, 2, 3, …

บัพ

S1P – S2P = (n-1/2) l, n = 1, 2, 3, …



เมื่อ P คือจุดที่เราสนใจ S1P คือระยะจาก S1 ถึงจุด P และ n คือ แนวปฏิบัพที่ n หรือ แนวบัพที่ n ใด ๆ



4. คลื่นนิ่ง (Standing wave)

คือ การที่คลื่นสองขบวนที่มีเฟสตรงข้ามกันเคลื่อนที่สวนทางกันกลับไปกลับมาจนเรามองเห็นเหมือนกับมันหยุดนิ่ง



คลื่นนิ่งในเส้นเชือก

เมื่อจุดปลายตรึง เมื่อจุดปลายอิสระ



จุดบัพกับจุดบัพที่อยู่ติดกันจะอยู่ห่างกันเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น (l/2) เสมอ เรียกว่า loop

จุดปฏิบัพกับจุดบัพที่อยู่ติดกันจะอยู่ห่างกันเท่ากับ l/4 เสมอ



ที่มา http://blake.prohosting.com/pstutor/physics/wave/wave_concept.html
เขียนโดย m6debsirinsp ที่ 0:33 0 ความคิดเห็น เนื่องจากยังได้พบเห็นความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องความเร็วของคลื่นเสียงอยู่บ่อยๆ จึงได้นำเรื่อง "ความเร็วของคลื่นเสียง" มารวมไว้ในชุดบทความ "ศาสตร์แห่งเส้นเสียง" เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับผู้สนใจเกี่ยวกับเครื่องเสียงและอคุสติค

เริ่มจากต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า "คลื่นเสียง – Sound Wave" ก็คือการสั่นไหวเชิงความดัน (Pressure Disturbance) ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปในตัวกลาง (Medium) ด้วยลักษณะกิริยาการส่งผ่านพลังงานจากการสั่นไหวระหว่างอนุภาค (Particle) ที่อยู่ติดชิดกันของตัวกลางนั้น

ดังนี้คำว่า "ความเร็วของคลื่นเสียง – Speed of sound wave" ก็จะหมายถึงความเร็วของการส่งผ่านการสั่นไหวที่ว่านี้ โดยจำนวนรอบการสั่นไหวของอนุภาคตัวกลางในหนึ่งหน่วยเวลาก็คือ "ความถี่ – Frequency" ของระรอกคลื่นนั่นเอง



ความเร็วของคลื่นคือระยะที่ "จุดหนึ่งจุดใดบนช่วงคลื่น" เคลื่อนไปในห้วงเวลาหนึ่ง

ความเร็ว (V) = ระยะทาง (S) / เวลา (T)

แต่ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางที่ระรอกคลื่นนั้นเคลื่อนที่ผ่านไป โดยคุณสมบัติหลักๆ ของตัวกลางที่มีผลต่อความเร็วของคลื่นก็คือ "ความเฉื่อย – Inertia" และ "ความยืดหยุ่น – Elastic"

ในกรณีของตัวกลางที่เป็นก๊าซ (Gases) ก็จะมีความหนาแน่น (Density) ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักทางความเฉื่อยที่มีผลต่อความเร็วในการส่งผ่านคลื่นเสียง หากปัจจัยอื่นๆ เหมือนกันแล้ว คลื่นเสียงจะเดินทางผ่านก๊าซที่มีความหนาแน่นน้อยได้เร็วกว่าตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า

ส่วนกรณีของตัวกลางที่เป็นของแข็งนั้น ตัวกลางที่มีความเหนียวแน่นสูงเช่นเหล็กจะมีความสามารถในการส่งผ่านคลื่นเสียงได้เร็วกว่าตัวกลางที่มีความหยุ่นอ่อนเช่นยาง

ทั้งนี้ปัจจัยจากความยืดหยุ่นจะมีผลต่อความเร็วของเสียงมากกว่าปัจจัยจากความเฉื่อย ด้วยเหตุนี้ความเร็วของเสียง (V) ที่เดินทางผ่านของแข็ง (Solids) จะมากกว่าของเหลว (Liquids) และในของเหลวจะมากกว่าก๊าซ (Gases)

V solids > V liquids >V gases

ด้วยเหตุนี้ความเร็วของเสียงที่เดินทางในอากาศ (Air) จึงขึ้นกับคุณสมบัติของมวลอากาศ ซึ่งคุณสมบัติหลักที่มีผลต่อความเร็วเสียงก็คืออุณหภูมิและความดันของอากาศ

ความดันของอากาศจะส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลอากาศ (คุณสมบัติทางความเฉื่อย) ในขณะที่อุณหภูมิจะส่งผลต่อความรุ่นแรงของปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคของอากาศ (คุณสมบัติทางความยืดหยุ่น) ซึ่งหมายความว่าหากคิดเฉพาะผลจากอุณหภูมิของอากาศต่อความเร็วของเสียงแล้ว อากาศที่มีระดับอุณหภูมิที่สูงกว่าจะยอมให้เสียงเดินทางผ่านไปได้เร็วกว่า ตามสมการ

V = 331 + 0.6T

โดย T คือค่าอุณหภูมิของอากาศในหน่วยองศาเซลเซียส และ V คือความเร็วในหน่วยเมตร/วินาที เช่นอากาศที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (ในห้องปรับอากาศทั่วๆ ไปเช่นห้องฟังเพลง) เสียงจะเดินทางได้ด้วยความเร็วประมาณ 346 เมตร/วินาที หรือประมาณ 1,245 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

จากบทความเรื่อง "เสียงทุ้ม-เสียงแหลม" นั้น ความถี่ 1 Hz จะหมายถึงการสั่นไหว (Vibration) ของอนุภาคตัวกลางจำนวน 1 รอบใน 1 วินาที (Second) หรือ

1 Hz = 1 Vibration / 1 Second

ซึ่งการสั่นไหว 1 รอบนี้ คลื่นจะเคลื่อนที่ไปได้เท่ากับ 1 ความยาวคลื่น (L) พอดี และหากใน 1 วินาทีมีการสั่นไหว 2 รอบก็จะได้ความถี่เท่ากับ 2 Hz โดยคลื่นจะเคลื่อนที่ไปได้ 2 ความยาวคลื่น...ในระยะทางโดยรวม (S) เท่าเดิม (ด้วยความเร็วเท่าเดิม) เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ดังนั้น

1 Hz = 1 Vibration / 1 Second โดย S = 1 x L1

2 Hz = 2 Vibration / 1 Second โดย S = 2 x L2

n Hz = n Vibration / 1 Second โดย S = n x Ln



เมื่อ S = n x L หากหารด้วยเวลา 1 วินาที จะได้ว่า

S/1 Second = n/1 Second x L

ซึ่ง S/1 Second ก็คือความเร็ว V และ n/1 ก็คือความถี่ F นั่นเอง ดังนั้น

V = F x L

แปลความหมายได้ว่า

ความเร็วของคลื่น = ความถี่ x ความยาวคลื่น

ในกรณีของคลื่นเสียงนั้น ตามปกติแล้วจะใช้สมการนี้เพื่อหาค่าความยาวคลื่นของความถี่ที่ต้องการ โดยจะเริ่มจากการหาค่าความเร็วของเสียง (ซึ่งเป็นค่าคงที่) จากสมการ V = 331 + 0.6T ให้ได้เสียก่อน เช่นหากจะคำนวณต่อจากตัวอย่างข้างบน คลื่นเสียงที่ความถี่เท่ากับ 60 Hz จะมีความยาวคลื่นเท่ากับ 346/60 = 5.76 เมตร (ที่อุณหภูมิอากาศเท่ากับ 25 องศาเซลเซียส)

ทั้งนี้สมการ V = F x L นี้จะเป็นเพียงความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์ของคลื่นเท่านั้น มิได้หมายความว่าความเร็วของคลื่น เช่นคลื่นเสียงนั้นจะแปรเปลี่ยนไปตามค่าความถี่ หรือ ค่าความยาวคลื่นแต่อย่างใด

แต่ก็ยังพบเห็นมีผู้เข้าใจผิดๆ ในเรื่องนี้กันอยู่เนืองๆ และยังมีการส่งต่อความเข้าใจผิดๆ ผ่านการบอกเล่าหรือการตอบปัญหาเกี่ยวกับอคุสติคในบางแห่งบางที่ ทำนองว่า เสียงแหลมความถี่สูงมีความเร็วมากกว่าเสียงทุ้มความถี่ต่ำ ทั้งที่จริงๆ แล้วจะมีความเร็วไม่ต่างกัน ซึ่งได้สร้างความเข้าใจผิดๆ ออกไปในวงกว้าง เนื่องจากนักเล่นโดยทั่วไปมักจะยึดถือคำตอบจากตัวบุคคลที่คิดว่าน่าเชื่อถือได้ จึงต้องถือให้เป็นปัญหาของผู้ที่ตอบซึ่งควรต้องหมั่นศึกษาในเรื่องที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์หรือธรรมชาติมากกว่าการตอบไปตามแต่ที่ตนเองจะคิด, รู้สึกหรือคาดเดาไปเอ


ที่มา http://www.mitrprasarn.com/index.php/2010-02-03-13-06-48/61-it-et-media/192-2010-03-08-06-23-31
เขียนโดย m6debsirinsp ที่ 0:30 0 ความคิดเห็น ลักษณะของคลื่นเสียง
คลื่นเสียงสามารถเขียนได้ 2 ลักษณะคือ
1. คลื่นการกระจัด พิจารณาจากการเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลาง
( คลื่นการกระจัดจะพิจารณาเรื่องการสะท้อน การหักเห)


2. คลื่นความดัน พิจารณาจากความดันของตัวกลาง ซึ่งประกอบด้วย
..........1. คลื่นอัด คือส่วนที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศเดียวกับการเคลื่อนที่
..................ของคลื่นเสียงจะมีความดันสูงกว่าความดันปกติ
............2. คลื่นขยาย คือส่วนที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามกับ
................การเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงและ มีความดันต่ำ


คลื่นความดันจะพิจารณาเรื่องพลังงานของเสียง และบริเวณที่ความดันต่างไปจากความดันปกติ
เราเรียกความดันนั้นว่า ความดันเกจ (Pressure Gage)ความดังของเสียงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
อัมปลิจูด คลื่นเสียงที่มีอัมปลิจูดสูงจะมีความดังมากกว่าคลื่นเสียงที่มีอัมปลิจูดต่ำ
คลื่นความดันและคลื่นการกระจัดจะมีเฟสต่างกัน 90 องศา

ที่มา http://www.streesmutprakan.ac.th/teacher/sci/Physnan/sound/html/wasound.htm
เขียนโดย m6debsirinsp ที่ 0:18 0 ความคิดเห็น ความเร็วเสียง คือ ระยะทางที่เสียงเดินทางไปในตัวกลางใดๆ ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา โดยทั่วไปเสียงเดินทางในอากาศที่มีอุณหภูมิ 25°C (= 298,15 K) ได้ประมาณ 346 เมตร/วินาที และในอากาศที่อุณหภูมิ 20°C ได้ประมาณ 343 เมตร/วินาที ความเร็วที่เสียงเดินทางได้นั้นอาจมีค่ามากขึ้นหรือน้อยลงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของตัวกลางเป็นหลัก และอาจได้รับอิทธิพลจากความชื้นบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ขึ้นกับความดันอากาศ

เนื่องจากการเดินทางของเสียงอาศัยการสั่นของโมเลกุลของตัวกลาง ดังนั้นเสียงจะเดินทางได้เร็วขึ้นหากตัวกลางมีความหนาแน่นมาก ทำให้เสียงเดินทางได้เร็วในของแข็ง แต่เดินทางไม่ได้ในอวกาศ เพราะอวกาศเป็นสุญญากาศจึงไม่มีโมเลกุลของตัวกลางอยู่


ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87
เขียนโดย m6debsirinsp ที่ 0:15 0 ความคิดเห็น คำนิยาม
Tsunami อ่านว่าสึนามิ ,ซูนามิ ,สึนามิ เป็นภาษาญีปุ่น แปลว่า คลื่นท่าเรือ พัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่งอย่างรวดเร็วรุนแรงกว่าคนวิ่งจะหนีทัน โดยมีจำนวนคลื่นหลายลูกมีขนาดไม่เท่ากัน เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิปิก ซึ่งเป็นแนวของภูเขาไฟใต้น้ำทะเล เกิดได้ในเวลากลางวัน และกลางคืนสามารถเคลื่อนตัวสู่แม่น้ำที่เชื่อมทะเลและมหาสมุทรได้ เป็นภัยธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล

สาเหตุการเกิดสึนามิ (Tsunami)

เกิดจาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก บริเวณที่มีน้ำทะเลจำนวนมหาศาล ทำให้น้ำทะเลเหนือบริเวณดังกล่าวและบริเวณใกล้เคียงมีการไหลเววียนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ บริเวณจุดศูนย์กลางและกระจายออกไปทุกทิศทาง
สาเหตุการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ในปัจจุบันพบว่ามี 4 สาเหตุหลัก คือ
1. แผ่นดินไหว
2. ภูเขาไฟระเบิด
3. แผ่นดินถล่ม
4. อุกกาบาดพุ่งชนโลก

ลักษณะการเกิดสึนามิ แสดงโดยภาพแบบจำลองดังนี้
สถานะการณ์ปรกติ ระดับน้ำทะเลจะขึ้น - ลง ตามแรงดึงดูดของดวงจันทร์ โลกและดวงอาทิตย ์เปลือกโลกไม่มีรอยแตกและเคลื่อนไหว

ที่มา http://www.most.go.th/tsunami/
เขียนโดย m6debsirinsp ที่ 0:01 0 ความคิดเห็น วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ลักษณะของคลื่นแผ่นดินไหว

ความสั่นสะเทือนของพื้นดินนั้นมีลักษณะการเคลื่อนตัวของอนุภาคหินหรือดินแบบ 3 มิติ คือสามารถวัดการเคลื่อนตัวในแนวระนาบของทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก และแนวดิ่ง ทั้งนี้คลื่นแผ่นดินไหวสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน 2 แบบได้แก่ แบบวัดความเร็วของอนุภาคดินหรือหิน (Seismograph )ซึ่งสามารถวิเคราะห์คลื่นแผ่นดินไหวเพื่อการกำหนดตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว ขนาด เวลาเกิด ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของโลก ลักษณะของแนวรอยเลื่อน กลไกการเกิดแผ่นดินไหว และแบบวัดอัตราเร่งของพื้นดินได้แก่ เครื่องวัดอัตราเร่งของพื้นดิน (Accelerograph ) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับงานด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหว ในบริเวณพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

คลื่นแผ่นดินไหวแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
คลื่นหลัก (Body Wave )เป็นคลื่นที่เดินทางอยู่ภายใต้โลก ได้แก่ คลื่น P อนุภาคของดินเคลื่อนที่ไปตามแนวแรง และคลื่น S อนุภาคดินเคลื่อนที่ไปตามแนวระนาบ ทิศเหนือใต้ และตะวันออกตะวันตก ความยาวช่วงคลื่นหลักอยู่ระหว่าง 0.01-50 วินาที

คลื่นผิวพื้น (Surface Wave) ได้แก่คลื่นเลิฟ (Love :LQ) อนุภาคดินเคลื่อนที่ในแนวระนาบเหมือนการเคลื่อนที่ของงูเลื้อย และคลื่น เรย์เลห์ (Rayleigh :LR) อนุภาคของดินเคลื่อนที่เหมือนคลื่น P แต่ขณะเดียวกันมีการเคลื่อนตัวแบบย้อนกลับ ความยาวช่วงคลื่นผิวพื้นประมาณ 10-350 วินาที

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สมบัติของคลื่น

1การสะท้อนของคลื่น Reflection

เมื่อคลื่นเคลี่ยนที่ไปชนกับสิ่งกีดขวาง หรือเคลื่อนที่ไปยังปลายสุดของตัวกลาง หรือระหว่างรอยต่อของตัวกลาง คลื่นส่วนหนึ่งจะเคลื่อนที่กลับมาในตัวกลางเดิม เรียกว่า การสะท้อนของคลื่น และคลื่นที่สะท้อนกลับมา เรียกว่า คลื่นสะท้อน ส่วนคลื่นที่ไปกระทบปลายสุดของตัวกลางก่อนเกิดการสะท้อนเรียกว่า คลื่นตกกระทบ

2การหักเหของคลื่น(Refraction)

เมื่อให้คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลาหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง เช่น คลื่นน้ำลึกเคลื่อนที่จากน้ำลึกเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น จะทำให้ความยาวคลื่นของคลื่นน้ำจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย การที่คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่งแล้วทำให้อัตรา เร็วและความยาวคลื่นเปลี่ยนไปแต่ความถี่คงที่ เรียกว่า "การหักเหของคลื่น" และคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านรอยต่อ ระหว่างตัวกลางไปเรียกว่า "คลื่นหักเห"

ในการหักเหของคลื่นจากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง จะทำให้ความเร็ว และความยาวคลื่นเปลี่ยนไป แต่ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจจะไม่เปลี่ยน หรือเปลี่ยนไปจากแนวเดิมก็ได้

3การแทรกสอดของคลื่น(Interference)

เมื่อมีคลื่นต่อเนื่องจากแหล่งกำเนิดคลื่นสองแหล่งที่มีความถี่เท่ากันและเฟสตรงกันเคลื่อนที่มาพบกัน จะเกิดการซ้อนทับระหว่างคลื่นต่อเนื่องสองขบวนนั้น ปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า การแทรกสอดของคลื่น (Interference)

1.การแทรกสอดแบบเสริมกัน เกิดจากสันคลื่นของคลื่นทั้งสองมารวมกัน คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะมีวันคลื่นสูงกว่าเดิม และมีท้องคลื่นลึกกว่าเดิม และจะเรียกตำแหน่งนั้นว่า ปฏิบัพ(Antinode)

2.การแทรกสอดแบบหักล้าง เกิดจากสันคลื่นจากแหล่งกำเนิดหนึ่งมารวมกับท้องคลื่นของ อีกแหล่งกำเนิดหนึ่ง คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมีสันคลื่นต่ำกว่าเดิม และท้องคลื่นตื้นกว่าเดิม และเรียกตำแหน่งนั้นว่า บัพ(Node)

4การเลี้ยวเบนของคลื่น

เมื่อมีสิ่งกีดขวางมากั้นการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นจะเกิดการสะท้อน แต่ถ้าสิ่งกีดขวางนั้นกั้นการเคลื่อนที่ ของคลื่นเพียงบางส่วน จะพบว่ามีคลื่นส่วนหนึ่งแผ่จากขอบสิ่งกีดขวางไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้น การที่มีคลื่นปรากฎอยู่ทางด้านหลังของแผ่นกั้นคลื่นในบริเวณนอกทิศทางเดิมของคลื่นเช่นนี้เรียกว่า การเลี้ยวเบนของคลื่น

ในการอธิบายการเลี้ยงเบนของคลื่นต้องใช้ หลักการของฮอยเกนส์ ซึ่งกล่าวไว้ว่า

"แต่ละจุดบนหน้าคลื่นสามารถถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของคลื่นใหม่ที่ให้กำเนิดคลื่น ซึ่งเคลื่อนที่ออกไปทุกทิศทุกทางด้วย

อัตราเร็วเท่ากับ อัตราเร็วของคลื่นเดิมนั้น"

สูตร อัตราเร็วคลื่น

v = = f =

v - ความเร็วคลื่น หน่วยเป็น m / s

s - ระยะทาง หน่วยเป็น m

t - เวลา หน่วยเป็น s

f - ความถี่ หน่วยเป็น s-1

- ความยาว หน่วยเป็น m

สูตร การหาจำนวนลูกคลื่นที่ผ่านจุดหนึ่งในหนึ่งหน่วยเวลา

f =

T - เวลาที่คลื่นใช้ในการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ

f - ความถี่

การหักเหของคลื่น(Refraction)

เมื่อให้คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลาหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง เช่น คลื่นน้ำลึกเคลื่อนที่จากน้ำลึกเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น จะทำให้ความยาวคลื่นของคลื่นน้ำจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย การที่คลื่นน้ำเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่งแล้วทำให้อัตรา เร็วและความยาวคลื่นเปลี่ยนไปแต่ความถี่คงที่ เรียกว่า "การหักเหของคลื่น" และคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านรอยต่อ ระหว่างตัวกลางไปเรียกว่า "คลื่นหักเห"

ในการหักเหของคลื่นจากตัวกลางหนึ่งไปสู่อีกตัวกลางหนึ่ง จะทำให้ความเร็ว และความยาวคลื่นเปลี่ยนไป แต่ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจจะไม่เปลี่ยน หรือเปลี่ยนไปจากแนวเดิมก็ได้

สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

1. ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่

2. อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 299,792,458 m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง

3. เป็นคลื่นตามขวาง

4. ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง

5. ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร

6. ไม่มีประจุไฟฟ้า

7. คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้

คลื่นวิทยุ

คลื่นวิทยุมีความถี่ช่วง 104 - 109 Hz( เฮิรตซ์ ) ใช้ในการสื่อสาร คลื่นวิทยุมีการส่งสัญญาณ 2 ระบบคือ

1.1 ระบบเอเอ็ม (A.M. = amplitude modulation)

ระบบเอเอ็ม มีช่วงความถี่ 530 - 1600 kHz( กิโลเฮิรตซ์ ) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้าไปกับคลื่นวิทยุเรียกว่า "คลื่นพาหะ" โดยแอมพลิจูดของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง

ในการส่งคลื่นระบบ A.M. สามารถส่งคลื่นได้ทั้งคลื่นดินเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงขนานกับผิวโลกและคลื่นฟ้าโดยคลื่นจะไปสะท้อนที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แล้วสะท้อนกลับลงมา จึงไม่ต้องใช้สายอากาศตั้งสูงรับ

1.2 ระบบเอฟเอ็ม (F.M. = frequency modulation)

ระบบเอฟเอ็ม มีช่วงความถี่ 88 - 108 MHz (เมกะเฮิรตซ์) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้ากับคลื่นพาหะ โดยความถี่ของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง

ในการส่งคลื่นระบบ F.M. ส่งคลื่นได้เฉพาะคลื่นดินอย่างเดียว ถ้าต้องการส่งให้คลุมพื้นที่ต้องมีสถานีถ่ายทอดและเครื่องรับต้องตั้งเสาอากาศสูง ๆ รับ

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553